"โยคะ ท่าสุริยะนมัสการ"
สุริยะนมัสการ โยคะพื้นฐานที่ยึดหลักการยืดเหยียดร่างกายและมีสติอยู่กับลมหายใจ ประกอบไปด้วย 12 ขั้นตอน
ซึ่งเป็นขั้นตอนการฝึกโยคะของชาวอินเดียโบราณ สาว ๆ ลองฝึกทำกันได้ไม่ยาก
สุริยะนมัสการเป็นโยคะที่ใครๆ ก็สามารถทำได้ เพียงเข้าใจพื้นฐานของโยคะซึ่งก็คือ หลักการยืดเหยียดร่างกาย และมีสติอยู่กับลมหายใจ เพียงคุณใช้เวลาเพียง 5-10 ตอนเช้าหลังตื่นนอนไหว้พระอาทิตย์ก็จะได้เริ่มต้นวันใหม่ที่สดใสและมีพลังยิ่งใหญ่ในชีวิต ท่านี้เป็นการฝึกโยคะของชาวอินเดียโบราณ ซึ่งฝึกกันเป็นธรรมเนียมก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น เป็นรูปแบบของโยคะที่สมบูรณ์อยู่ในตัวเอง
ประกอบไปด้วยขั้นตอนต่างๆ 12 ขั้นตอน ต่อเนื่องไปตั้งแต่ต้นจนจบ ซึ่งจะส่งผลดีต่อสุขภาพโดยรวมของคุณ
เป็นการบริหารร่างกายทุกส่วนอย่างสมดุล ตั้งแต่ปลายเท้าจนถึงศรีษะ เมื่อฝึกเป็นประจำจะส่งผลให้ร่างกายยืดหยุ่น อย่างที่เราชอบพูดกันว่า "ตัวอ่อน" รูปร่างโดยองค์รวมจะดูเพรียวสวยงาม สมสัดส่วน กล้ามเนื้อกระชับ ไม่หย่อนยาน เป็นการชะลออายุ ทำให้ดูอ่อนกว่าวัย
กล้ามเนื้อข้อต่ออวัยวะภายในระบบต่างๆของร่างกาย
รวมถึงสมอง จะได้รับการกระตุ้นทั้งหมดจากท่านี้
1. Samastitihi : Standing at Attention : ‘หายใจปกติ ยืนตรงอย่างสำรวม มือทั้งสองข้างอยู่ในท่าไหว้ระดับอก พยายามทรงตัวให้มั่นคง’
2. อรรถจันทราสนะ (Ardha Chandrasana) : ‘เหยียดแขนขึ้นจนสุด พร้อมกับหายใจเข้าลึกๆ แอ่นตัวไปด้านหลังมากหรือน้อยตามที่เราจะทำได้’ ท่านี้ช่วยเรื่องการทรงตัว กระดูกและโครงสร้างร่างกายจะแข็งแรง การหมุนเวียนเลือดดีขึ้น กระบวนการฟอกและผลิตเม็ดเลือดแดงมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะท่านี้ช่วยเพิ่มออกซิเจนให้กับร่างกาย และช่วยขจัดไขมันตามส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ดีอีกด้วย
3. อุตตานาสนะ (Uttanasana) : ‘พับตัวลงมาพร้อมกับหายใจออก ยกสะโพกสูง ยืดหลังขา เหยียดแขนลงกับพื้น บางท่านอาจใช้มือจับข้อเท้าไว้แทน’ ท่านี้ถ้าฝึกบ่อยๆ ตัวจะอ่อนจนมือแตะพื้นได้ แต่ผู้มีปัญหาเรื่องหลังไม่ควรก้มมาก ให้ก้มเท่าที่จะทำได้ก็พอ
4. Ashwa Sanchalanasana : ‘ชักเท้าขวาไปด้านหลัง หลังตรง พับเข่าด้านหน้าย่อตัวลงให้ขนานกับพื้น หายใจเข้า ใช้แขนช่วยในการทรงตัวอีกทาง ท่านี้ช่วยป้องกันและรักษาอาการปวดหลังได้ ช่วยให้การหมุนเวียนเลือดดีขึ้น บางท่านชอบใช้ท่าอรรถจันทราสนะ (Ardha Chandrasana) ร่วมกับอาสนะนี้ด้วย คือ เมื่อทรงตัวในท่านี้ได้อย่างมั่นคงแล้ว ‘เงยหน้า เหยียดแขนทั้งสองข้างขึ้นเหนือศีรษะเท่าที่จะทำได้จนลำตัวครึ่งบนมีลักษณะ เหมือนจันทร์เสี้ยว’ ซึ่งจะเพิ่มการยืด คอ ไหล่ หลังและหน้าอก
5. Hold the breath อยู่ในท่าสี่ขา (Santorasana) : เพื่อเพิ่มสมดุลของระบบประสาทระหว่างมือกับเท้า ปรับจุดการทรงตัวของร่างกาย
บางท่านจะต่อด้วยท่าที่ 6 คือ Ashtanga Namaskar Asana เลย แต่บางท่านจะทำท่าอโถมุขสวาสนะก่อน (Adho Mukha Svanasana) (ท่าที่ 8): ‘ดันสะโพกขึ้น ให้ลำตัวอยู่ในท่าสามเหลี่ยม’ ท่านี้ช่วยให้กล้ามเนื้อทุกส่วนในร่างกายมีความยืดหยุ่นมากขึ้น รักษาอาการปวดเอว หลัง สะโพก ทำให้แขน ขา หัวไหล่คล่องตัวและแข็งแรง ที่สำคัญช่วยชะลอความเหี่ยวย่นของใบหน้าและทำให้ระบบการหายใจดีขึ้น
6. Ashtanga Namaskar Asana : ‘มุดหน้าลง เข่าแตะพื้น มือยันพื้นไว้ เงยหน้าและดันสะโพกขึ้น หายใจออกยาวๆ ในจังหวะที่ดันตัวขึ้น โดยที่หน้ายังแตะพื้นอยู่’ ท่านี้จะป้องกันและรักษาอาการปวดหลังได้ดี คุณมาถึงครึ่งทางของสุริยะนมัสการแล้ว อย่าท้อใจว่าทำไมมีหลายอาสนะจัง อย่างที่เราบอก “ท่าไหว้พระอาทิตย์จะช่วยบริหารและยืดกล้ามเนื้อทุกส่วน จนถึงการนวดอวัยวะภายใน” ดังนั้น ทำใจให้สบาย เข้าอาสนะด้วยความไม่เครียด ไม่เกร็ง เคลื่อนไหวอย่างนุ่มนวลเชื่องช้า เมื่อคุณเคลื่อนไหวอย่างช้าๆ จะช่วยให้การหายใจยาวและลึกตามไปด้วย
สุริยะนมัสการไม่ใช่ท่าเดียวโดดๆ ที่ฝึกรวดเดียวจบในตัวเอง แต่ประกอบด้วยอาสนะต่างๆ ที่ต่อเนื่องกันเป็นสายลูกโซ่ ทุกอาสนะสัมพันธ์กันอย่างลงตัว เสริมและแก้กันตามลำดับ ทำให้สุริยะนมัสการเป็นอาสนะที่ทรงพลังและมีประสิทธิภาพสูง มีผลดีต่อสุขภาพโดยรวม การฝึกท่าโยคะท่าแสดงความเคารพต่อดวงอาทิตย์ เป็นท่าที่มีลักษณะหมุนเวียน จากจุดเริ่มต้นและมาจบที่จุดเริ่มต้นอีกครั้งหนึ่ง ดังนั้น จากอาสนะเริ่มต้นจนมาถึง Ashtanga Namaskar Asana
เรากำลังจะได้หวนกลับคืนไปสู่การเริ่มต้นใหม่ โดยออกจากอาสนะนี้
ให้คุณเข้าภุชงคาสนะ (Bhujangasana)

7. ภุชงคาสนะ (Bhujangasana) : อยู่ในท่านอนแอ่นหลังหายใจเข้าอย่างต่อเนื่อง เหยียดแขนเท้าพื้นไว้ข้อศอกชิดลำตัว’ ผู้ที่กระดูกสันหลังเคลื่อนและเป็นโรคต่อมไทรอยด์โตไม่ควรเข้าอาสนะนี้ สามารถให้ย้อนกลับไปอ่านการเข้าท่าอาสนะนี้อย่างละเอียดจากเรื่อง “พร้อมสู้ด้วยภุชงคาสนะ” ท่านี้จะช่วยการทำงานของต่อมน้ำเหลือง และช่วยให้กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานได้รับการบริหาร
(ผู้หญิงที่กล้ามเนื้ออุ้งเชิงกรานไม่แข็งแรง จะมีลมเข้าออกช่องคลอด มดลูกหย่อนคล้อยและปัสสาวะเล็ดลอด กะปริบกะปรอย)
8. อโถมุขสวาสนะ (Adho Mukha Svanasana) : มือยันพื้น แขนเหยียดตึง ยกตัวดันสะโพกขึ้น ให้ลำตัวอยู่ในท่าสามเหลี่ยม หายใจออก ท่านี้นอกจากจะยืดหยุ่นได้ดีสำหรับคนที่ตัวแข็งแล้ว จะทำให้คนที่เป็นโรคนอนไม่หลับ INSOMNIA จะนอนหลับได้ง่ายขึ้น ฟื้นฟูความทรงจำ ป้องกันผมร่วงเพราะรากผมขาดเลือด หรือเส้นเลือดตีบ ชะลอความชราช่วยให้ใบหน้าอ่อนเยาว์ ผู้ที่เป็นสิวฝ้าควรทำบ่อยๆ ด้วย
9. จากท่าที่ 8. ลำตัวสามเหลี่ยมให้ก้าวเท้าด้านหนึ่งกลับมาด้านหน้า เพื่อเข้า Ashwa Sanchalanasana : หลังตรง พับเข่าที่อยู่ด้านหน้า โดยที่ขาอีกข้างยังเหยียดอยู่ด้านหลัง มือแตะพื้นหายใจเข้าช้าๆ
10. ลุกขึ้นยืนเข้าท่าพับตัว หรือ ท่ายืนก้ม Uttanasana โดยให้พับตัวลงมาพร้อมกับหายใจออก
11. เหยียดแขนขึ้นหายใจเข้าพร้อมท่า อรรถจันทราสนะ (Ardha Chandrasana) โดยให้เหยียดแขนขึ้นจนสุด พร้อมกับหายใจเข้าลึกๆ แอ่นตัวไปด้านหลัง เป็นอาสนะท่ายืนที่ลำตัวคล้ายรูปจันทร์เสี้ยว
12. สิ้นสุดด้วยท่าเริ่มต้นยืนไหว้ Samastitihi ยืนตรงอย่างมั่นคง เท้าทั้งสองข้างชิดกัน มือทั้งสองข้างอยู่ในท่าไหว้ระดับอก พยายามทรงตัวให้มั่นคง สำรวมกายใจให้สงบนิ่ง สิ้นสุดการไหว้พระอาทิตย์ ให้คุณฝึกลมหายใจให้สัมพันธ์กับท่า ‘ลมหายใจที่ยาวลึกเป็นการช่วยขับพิษออกจากร่างกาย’
ตื่นเช้ามาทำเพียงวันละ 5 รอบ คุณจะได้เริ่มต้นวันใหม่อย่างยิ่งใหญ่ มีพลังและแข็งแรง
Cr. www.never-age.com
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น